ประวัติโรงเรียน
          โรงเรียนบ้านเตาบ่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ที่วัดบ้านเตาบ่า หมู่ที่ 6 ตำบลภารแอ่น อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นตำบลนาสีนวล) โดยมีนายประเสริฐ วิเชียรแสน ศึกษาธิการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย พร้อมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และครู ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น และให้ชื่อว่า โรงเรียนวัดบ้านเตาบ่า สาเหตุของการจัดตั้งโรงเรียนนี้ เนื่องจากนักเรียนโรงเรียนบ้านเตาบ่า ได้เดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองบะ มีระยะทางไกลและทุรกันดาร โดยมีนายสง เตระนะกาโย เป็นครูใหญ่คนแรก เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนทั้งสิ้น 75 คน อาศัยศาลาการเปรียญวัดบ้านเตาบ่าเป็นสถานที่เรียน
          ต่อมาในปี 2516 ได้ย้ายโรงเรียนจากวัดบ้านเตาบ่ามาสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ เตี้ย ขนาด 4 ห้องเรียน บนเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา
          ปี พ.ศ.2549 ได้รับบริจาคอาคารเรียน 1 หลัง จากสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน อาคารโรงอาหาร 1 หลัง จากบริษัทพีเอ็นมารีดฟูดส์โปรดักส์จำกัด และจัดหาที่ดินเพิ่มเป็น 6 ไร่ 4 ตารางวา
          ปัจจุบันโรงเรียนบ้านเตาบ่าจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6
วิสัยทัศน์ : คำขวัญ
          วิสัยทัศน์
          โรงเรียนบ้านเตาบ่าจัดการศึกษาพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม มีความเป็นเลิศทางทักษะวิชาการ ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและมีความเป็นสากล
          คำขวัญ
          เรียนดี....กีฬาเด่น....เน้นวินัย....ใฝ่คุณธรรม....
เป้าประสงค์
          1. เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาทุกกลุ่มประสบการณ์ มีทักษะกระบวนการ
          2. เพื่อให้รักและหวงแหนความเป็นไทย
          3. เพื่อปลูกฝังค่านิยมให้เยาวชนรักและหวงแหนวัฒนธรรมไทยและท้องถิ่น
          4. เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้และพัฒนาความถนัดตามศักยภาพตน
          5. เพื่อสนับสนุนวิถีชีวิตตามระบอบประชาธิปไตย
          6. เพื่อใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
          7. เพื่อฝึกทักษะกระบวนการและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
          8. เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
          9. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างหลากหลายนำความรู้ไปใช้ในการคิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาได้
          10. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเข้าใจด้านกฏหมายและการเมือง
          11. เพื่อให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติ
          12. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพกายแข็งแรงและมีจิตใจที่สมบูรณ์
          13. เพื่อให้บุคลากรมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและเกิดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์การพัฒนา
          โรงเรียนมีกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการพัฒนา 5 ด้าน ดังนี้
          1 . การพัฒนาระบบการศึกษา
             1.1 การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) เป็นการมอบอำนาจการบริหารให้แก่บุคลากรในโรงเรียน เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วมและตัดสินใจแบบองค์คณะ
             1.2 การบริหารงานเชิงระบบ เป็นกระบวนการบริหารที่เน้นประสิทธิภาพการดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน กำกับติดตาม การรายงานผลและการปรับปรุงการทำงาน
             1.3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการบริหารงานที่มุ่งเน้นคุณภาพของนักเรียน
          2 . การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
             2.1 การเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner Center) โดยการจัดหลักสูตร เนื้อหาวิชา และการวัดผลให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
             2.2 การเรียนรู้แบบองค์รวม เป็นการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างสัมพันธ์ เชื่อมโยงต่อเนื่องกลมกลืนกันทั้งเรื่องของท้องถิ่นและสากล ซึ่งมีผลทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องที่เรียนรู้อย่างชัดเจนและลึกซึ้งครอบคลุม มีความหมายต่อการนำไปใช้ในการดำรงชีวิต
             2.3 การเรียนที่มีความสุข เป็นการจัดสภาพการเรียนการสอนที่ผ่อนคลาย มีอิสระ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์แห่งความสำเร็จและพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ
             2.4 การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด เป็นการเรียนที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมากกว่าคำตอบ ครูต้องจัดการเรียนรู้เพื่อหาวิธีการเรียนรู้ (Learn how to learn)
             2.5 การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Directed Learning) เป็นการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
             2.6 การเรียนรู้เพื่อสุนทรียภาพ เป็นการพัฒนาด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา อันเป็นองค์ประกอบของชีวิตที่สมบูรณ์
             2.7 การเรียนรู้เพื่อพัฒนาลักษณะนิสัย เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความมั่งคั่งทางวัตถุ ความเจริญงอกงามทางจิตใจ ความอาทรต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          3. การพัฒนาบุคลากร
             3.1 การพัฒนาบุคลากร เป็นการให้ความรู้ในการจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงานแก่บุคลากรตามสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เปลี่ยนไป
             3.2 การจัดสวัสดิการ เป็นการบำรุงขวัญกำลังใจบุคลากรให้เกิดความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน
          4. ทรัพยากรการศึกษา
             4.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เป็นการพัฒนาระบบบริหารและจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
             4.2 งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Base Budgeting) เพื่อเป็นการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
          5. ชุมชน
             5.1 ความสัมพันธ์เพื่อพัฒนาศักยภาพ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
โครงสร้างการบริหาร
          ระบบโครงสร้างการบริหาร แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มงาน ดังนี้
          1. การบริหารวิชาการ ประกอบด้วย
             1.1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
             1.2 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
             1.3 การวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน
             1.4 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
             1.5 การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
             1.6 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
             1.7 การนิเทศการศึกษา
             1.8 การแนะแนวการศึกษา
             1.9 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
             1.10 การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน
             1.11 การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ กับสถานศึกษาอื่น
             1.12 การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
          2. การบริหารงบประมาณ ประกอบด้วย
             2.1 การจัดทำ และเสนอของบประมาณ
             2.2 การจัดสรรงบประมาณ
             2.3 การตรวจสอบติดตาม ประเมินผล รายงานผลการใช้เงิน และผลการดำเนินงาน
             2.4 ระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
             2.5 การบริหารการเงิน
             2.6 การบริหารบัญชี
             2.7 การบริหารพัสดุและสินทรัพย์
          3. การบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย
             3.1 การวางแผนอัตรากำลัง และกำหนดตำแหน่ง
             3.2 การสรรหา และการบรรจุแต่งตั้ง
             3.3 การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
             3.4 วินัยและการรักษาวินัย
             3.5 การออกจากราชการ
          4. การบริหารทั่วไป ประกอบด้วย
             4.1 งานธุรการ
             4.2 งานเครือข่ายข้อมูล สารสนเทศ
             4.3 งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
             4.4 งานประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
             4.5 การบริหารและพัฒนาองค์กร
             4.6 งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
             4.7 การส่งเสริมทางด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และบริหารทั่วไป
             4.8 การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
             4.9 งานสำมะโนผู้เรียน
             4.10 การรับนักเรียน
             4.11 การส่งเสริมและประสานงานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
             4.12 การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
             4.13 การส่งเสริมงานกิจการนักเรียน
             4.14 การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
             4.15 การส่งเสริม และประสานงานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงาน และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
             4.16 งานประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานอื่น
             4.17 การจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน
             4.18 งานบริการสาธารณะ
             4.19 งานที่ไม่ได้ระบุไว้ในงานอื่น
 
 

โรงเรียนบ้านเตาบ่า เลขที่ 181 หมู่ที่ 6 ตำบลนาสีนวล อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม รหัสไปรษณีย์ 44110